FileServe

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Box Shot 3D



Program  For Mac
สำหรับแมคยูสเซอร์ที่เป็นกราฟิคดีไซน์นอกจากออกแบบสิ่งพิมพ์แล้ว งานที่ต้องเจออีกอย่างหนึ่งก็คืองานออกแบบแพ็คเกจจิ้ง ไม่ว่าจะเป็นกล่องใส่สิ้นค้า ขวดน้ำ หรือแม้แต่ถุง ซึ่งการที่จะมานั่งวาดรูปโมเดลแพ็คเกจจิ้งนั้นๆ ก็จะเสียเวลาเป็นอย่างมาก  ซึ่งในครั้งนี้ทางทีมงาน MacDD ได้หยิบเอาเจ้าโปรแกรม Box Shot 3D มาแนะนำให้แมคยูสเซอร์ได้รู้จักกัน ซึ่งโปรแกรมนี้จะสร้างรูปแบบโมเดลแพ็คเกจจิ้งสำเร็จรูป โดยผู้ใช้งานเพียงแค่นำลวดลายที่ต้องการมาใส่ลงไปบนตัวแพ็คเกจจิ้งที่เลือกมาเท่านั้น แล้วจะช่วยให้การทำงานเร็วขึ้น และเจ้าโปรแกรม Box Shot 3D จะมีวิธีการใช้งานอย่างไรติดตามกันได้เลยครับ

เมื่อเปิดโปรแกรม Box Shot 3D ขึ้นมา ก็จะเจอกับหน้าต่างทำงาน ซึ่งจะเจอกับแพ๊คเกจจิ้งรูปแบบ Software Box พร้อมลวดลายของโปรแกรม Box Shot 3D โดยด้านซ้ายมือ จะแสดงโมเดลรูปแบบของแพ๊คเกจจิ้งที่จะทำการออกแบบ ส่วนด้านขวาจะเป็นเครื่องมือคำสั่งที่ใช้ในการตกแต่งแพ๊คเกจจิ้งนั้นเอง

เริ่มกันที่คำสั่งแรก Shapes ในส่วนนี้นี้ผู้ใช้งานสามารถเลือกรูปแบบโมเดลของแพ็คเกจจิ้งต่างๆ ได้มากมายหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นกล่อง Software, DVD, VCD หรือจะเป็นถุงกระดาษ ขวด หรือเเม้แต่แผ่นผับโปร์ชัวร์ก็มีให้เลือกใช้งาน เมื่อเลือกรูปแบบของแพ็ตเกจที่ ใช้ในการออกแบบได้แล้วก็ยังสามารถปรับขนาดของเเพ็คเกจนั้นๆ ได้อีกด้วย โดยแยกออกเป็นสองส่วนคือ Parameters เอาไว้ปรับขนาด กว้าง ยาว สูง ของตัวแพ็คเกจ และอีกส่วนคือ Transformation คือการเปลี่ยนรูปร่างของตัวแพ็คเกจ ซึ่งแพ็คเกจรูปแบบต่างๆ จะมีการปรับเปลี่ยน Parameters ที่แตกต่างกันออกไป

ต่อด้วยคำสั่ง Images ในส่วนนี้ผู้ใช้งานสามารถเลือกลวดลายของแพ็คเกจที่ออกแบบไว้แล้วมาใส่บนแพ็คเกจ โดยเลือกที่เครื่องหมายบวกด้านล่างซ้าย จากนั้นจะมีหน้าต่างปรากฏขึ้นมาให้เลือกรูปที่ออกแบบไว้สำหรับทำเป็นลายแพ็คเกจจากโฟลเดอร์ที่เก็บไว้ เมื่อเลือกรูปลวดลายที่จะนำมาใช้ได้แล้ว รูปลวดลายที่ทำมาตามไซค์ของแพ็คเกจจริงนั้นอาจจะไม่เท่ากับโมเดลเพ็คเกจที่เลือกมา ก็ให้เลือกที่คำสั่ง Fit Shape To Images แล้วตัวโมเดลเเพ็คเกจจะปรับขนาดอัตโนมัติให้ได้สเกลและสัดส่วนตามแบบลวดลายที่ได้ออกแบบไว้

ส่วนการใส่ลวดลายลงไปในส่วนต่างๆ ของแพ็คเกจนั้น ผู้ใช้งานต้องเลือกทีละส่วนจากคำสั่ง Side ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้า ด้านข้าง ด้านบน ของตัวแพ็คเกจ จากนั้นก็ให้ทำการ Crop รูปตามส่วนต่างๆ ของแพ็คเกจ โดยเลือกคำสั่ง Crop ที่ด้านล่างขวา แล้วก็เลือก Crop ตามส่วนต่างๆ ของ Side เช่น ถ้าจะใส่รูปทางด้านซ้ายของตัวกล่อง ในการ Crop รูปก็ให้เลือกที่คำสั่ง Left Part เพื่อให้ภาพด้านซ้ายต่อเป็นรูปต่อเนื่องจากด้านหน้าของแพ็คเกจนั้นเอง หรือสามารถเลือกส่วน Crop เองได้เพื่อให้ลวดลายบนแพ็คเกจต่อเนื่องกันตามที่ได้ออกแบบมา

จากนั้นก็มาเปลี่ยนมุมมองของโมเดลแพ็คเกจเพื่อเช็คลวดลายที่ใส่ลงไปด้วยคำสั่งของ Camera โดย คำสั่ง Camera Rotation สามารถปรับเปลี่ยนมุมมองได้โดยการหมุนซ้ายขวา และปรับมองในแบบมุมสูง ส่วนคำสั่ง Camera Offset จะเป็นการปรับโมเดลเเพ็คเกจให้เลื่อนซ้ายขวา และเลื่อนขึ้นลง ไปบริเวณพื้นที่การทำงาน สุดท้ายคือคำสั่ง Other Settings จะเป็นการปรับซูมขยายตัวโมเดลแพ็คเกจ และการปรับมุม Perspective

และสามารถตกแต่งแสงเงา เข้าไปที่ตัวโมเดลเพื่อเพิ่มมิติให้กับโมเดลเเพ็คเกจ ด้วยคำสั่ง Lighting โดยสามารถเลือกปรับแต่งได้ ทั้งทิศทางของแสง ต่ำแหน่งที่เงาตกบนพื้น ความเข้มของเงา จุดที่แสงตกข้างแพ็คเกจ เรียกว่าเป็นคำสั่งที่จะเพิ่มให้แพ็คเกจมีความสมจริงมากขึ้น

สุดท้ายเป็นการเลือกพื้นหลังด้วยคำสั่ง Scene โดยคำสั่งนี้จะเป็นการเลือกพื้นหลังว่าจะให้โมเดลแพ็คเกจว่างบนพื้นหลังแบบไหน โดยสามารถเลือกได้ 3 รูปแบบ คือ แบบพื้นหลังโปร่งแสงเพื่อการนำไปใช้งานที่สะดวก, แบบต่อมาคือการวางแพ็คเกจโมเดลบนพื้นหลังสีซึ่งสามารถเลือกสีได้ตามความเหมาะสม และสุดท้ายเป็นการเลือกรูปภาพมาทำเป็นพื้นหลัง ซึ่งก็แล้วแต่ผู้ใช้งานว่าจะนำไปใช้งานแบบใดก็เลือกรูปแบบตามความเหมาะสม

เมื่อปรับแต่งทุกอย่างเรียบร้อยจนเป็นที่พอใจแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนสุดท้ายนั้นก็คือการ Render ออกมาเป็นภาพเพื่อนำไปใช้งานนั้นเอง โดยสามารถเลือกปรับความละเอียดของภาพได้หลากหลายขนาดตั้งแต่ 100 x 100 ไปจนถึง 4000 x 4000 ซึ่งก็แล้วแต่ว่างานที่จะนำไปใช้ต้องใช้ความละเอียดมากหรือน้อยนั้นเอง เมื่อเลือกความละเอียดได้แล้ว ก็คลิ๊กที่คำสั่ง Render ด้านล่าง


หลังจากที่คลิ๊กคำสั่ง Render แล้ว โปรแกรม จะทำการ Render ภาพโมเดลเเพ็คเกจที่สร้างขึ้นมา เมื่อโปรแกรม Render เสร็จแล้วก็ให้คลิ๊กที่คำสั่ง Save Image เพื่อที่จะทำการเซฟภาพนั้น โดยจะมีหน้าต่างปรากฏขึ้นมาให้ใส่ชื่อไฟล์ที่เซฟ ที่จัดเก็บและเลือกฟอร์แมตของรูปภาพ ซึ่งสามารถ เลือกได้ 4 รูปแบบ คือ PNG, JPG BMP และ TIFF ส่วนภาพที่ได้จากการเซฟแล้วก็จะไปปรากฏอยู่ในที่ที่เลือกไว้  แต่ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่จะโหลดโปรแกรมนี้มาใช้นั้นเครื่องแมคของคุณต้องมีแรมเยอะสักนิดหนึ่งเพราะเวลาพรีวิวรูปแบบของรายละเอียดต่างๆ ที่ใส่ลงไปจะค่อนข้างกินแรมเยอะทีเดียว  และทั้งหมดนี้ก็คือรูปแบบการใช้งานของโปรแกรม Box Shot 3D โปรแกรมที่จะช่วยให้กราฟิคดีไซน์ออกแบบแพ็คเกจจิ้งได้รวดเร็วและใช้เวลาน้อยลง
System Requirements
Mac OS X 10.4  or later
1 Gb RAM
At least 1GHz CPU

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น